พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

พาวเวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. แบบ AT
2. แบบ ATX
![]() |
แบบ AT |
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงานซึ่งต้องอาศัย Power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องตัวนั้น
Power supply คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น
เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก
power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอก็จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย
การเปลี่ยน Power supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT
แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถังของภาคจ่ายไฟ
(Housing of Power Supply) แทนที่จะตัดออกมาด้วยสายเคเบิ้ลแล้ว
ต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power supply กดอยู่ในตำแหน่งเปิดภาคจ่ายไฟจะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อสัญญาณจากเมนบอร์ดส่งผ่านสาย 5 Volt Standby
จากภาพทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ
Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามา

ข้อควรคำนึงถึงเมื่อใช้ Power Supply แบบ ATX
1. สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power off) คอมพิวเตอร์
ผ่านซอฟแวร์ระบบปฎิบัติการ (Operating System) ได้ซอฟแวร์ระแบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95
2. ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลาปิดเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
3. พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น
4. การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่ ทำให้ลดอันตรายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินแรงดัน