วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Power Supply

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)


Image result for พาวเวอร์ซัพพลายในเคส       แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าพาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับจากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิิวเตอร์โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณีประกอบต่าง ๆ ภายในเครื่องซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการระบายความร้อนออกจากตัวเครื่องซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะการที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้นอาจจะเกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่ายปกติแล้วมักจะไม่ค่อยมีการเสือกซื้อพาวเวอร์ซัพพลายกันนักถ้าไม่ใช่เนื่องจากตัวเก่าที่ใช้อยู่เกิดเสียไปโดยมากเราจะเลือกซื้อ มาพร้อมกับเคส

    พาวเวอร์ซัพพลายจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 
    1. แบบ AT 
    2. แบบ ATX


แบบ AT
ปัญหาที่เกิดจาก Power Supply

      คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์จะทำงานได้ต้องมีแหล่งจ่ายไฟให้พลังงานซึ่งต้องอาศัย Power supply เป็นตัวจ่ายไฟให้กับเครื่องตัวนั้น

      Power supply คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงเพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์อื่น เช่น

เมนบอร์ด ซีพียู แรม ฮาร์ดิสก์ ฟล็อบปี้ดิสก์ไดร์ และซีดีรอมไดร์หาก
power supply มีคุณภาพดีจ่ายกระแสไฟได้เที่ยงตรง ถูกต้อง ให้กับอุปกรณ์อื่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ก็จะทำงานได้ดีไปด้วย หากการจ่ายไฟไม่เที่ยงตรงสม่ำเสมอก็จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ มีปัญหาไปด้วย



การเปลี่ยน Power supply แบบ ATX กรณีใช้เคส AT


Image result for รูปพาวเวอร์ซัพพลาย jpg       ภาพแสดง ATX Power supply จากภาพสังเกตว่า Power supply 
แบบปกติ สวิตช์หลักของ ATX จะอยู่บริเวณตัวถังของภาคจ่ายไฟ
(Housing of Power Supply) แทนที่จะตัดออกมาด้วยสายเคเบิ้ลแล้ว
ต่อสวิตช์รีเลย์ควบคุมเหมือนภาคจ่ายไฟด้วยวิธีนี้ เมื่อใดก็ตามที่สวิตช์หลักทางด้านหลัง Power supply กดอยู่ในตำแหน่งเปิดภาคจ่ายไฟจะอยู่ในภาวะ Standby พร้อมจ่ายไฟทันทีและจะทำงานสมบูรณ์แบบต่อเมื่อสัญญาณจากเมนบอร์ดส่งผ่านสาย 5 Volt Standby

      จากภาพทดสอบพบว่าบนเมนบอร์ดจะมีคอนเนคเตอร์สำหรับ 
Power ATX ปกติเคส ATX จะมีสายไฟสำหรับ Power ATX เข้ามา
ต่อที่ตำแหน่งดังกล่าวเมื่อกดปุ่มสวิตช์คอมพิวเตอร์จะทำให้สถานะของ Power ATX อยู่ในสถานะ On และคอมพิวเตอร์ใช้งานได้อย่างไรก็ตามสำหรับเคสแบบ AT นั้น ไม่มีสายไฟและคอนเนคเตอร์ดังกล่าวทำให้ประสบปัญหาคือจะเอาสวิตช์ที่ไหนมาควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ครั้งหนึ่งในระหว่างการทดสอบเมนบอร์ด AT baby ที่สามารถต่อกับ ATX Power Supply พบว่าเมื่อเปลี่ยนเอาAT Power Supply ออก แล้วเอา ATX Power Supply มาใส่ จะไม่มีสวิตช์สำหรับเปิดคอมพิวเตอร์ แต่ในเคสจะมีสายไฟสำหรับปุ่มreset และ SMI Green Mode ซึ่งเมื่อพิจารณาการทำงานของ ATX ก็น่าจะนำเอาเข้ามาต่อกับคอนเนคเตอร์ของ Power ATX ได้ จึงนำสายไฟที่มีคอนเนคเตอร์สำหรับ Reset มาต่อเข้ากับตำแหน่ง Power ATX บนเมนบอร์ด และพบว่าสามารถใช้งานควบคุมการปิดเปิดคอมพิวเตอร์ได้ แต่ไม่สามารถใช้ควบคุม ตามฟังก์ชั่น Dual Power Supply ได้ การใช้งานสวิตช์ดังกล่าวก็คือกดปุ่ม Reset (หรือ SMI Green Mode ขึ้นอยู่กับว่านำเอาสายไฟของอะไรไปเสียบลงบน Male connector ของ Power ATX บนเมนบอร์ด 

ข้อควรคำนึงถึงเมื่อใช้ Power Supply แบบ ATX
   
   1.  สามารถควบคุมการปิดเปิดสวิตช์ (Soft Power off) คอมพิวเตอร์
ผ่านซอฟแวร์ระบบปฎิบัติการ (Operating System) ได้ซอฟแวร์ระแบบปฏิบัติการที่สามารถใช้ได้คือ วินโดวส์ 95 
   2.  ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคุณสมบัติ "OnNow" ที่ระบุไว้ใน Intel PC 97 โดยใช้สัญญาณควบคุมผ่านโมเด็มเพื่อเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ได้หรือกำหนดเวลาปิดเปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์จาก RTC (Real Time Clock) ได้
   3.  พัดลมของ ATX ถูกออกแบบช่วยให้การระบายอากาศภายในเคสดีขึ้น
   4.  การควบคุมแรงดันไฟฟ้าของ ATX ออกแบบให้มีการควบคุมได้จากเมนบอร์ดที่ใช้ Chipset รุ่นใหม่ ทำให้ลดอันตรายจากการจ่ายกระแสไฟฟ้าเกินแรงดัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Power Supply

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)          แหล่งจ่ายไฟหรือที่มักจะเรียกทับศัพท์ว่าพาวเวอร์ซัพพลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง  ทำหน้าที...